วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Save time 5 Monday Date 5 October 2015



Diary notes.



knowledge.

- เล่นเกมทายใจ จากนักมายากลระดับโลก
- กิจกรรม "นักออกแบบอาคาร"
- ศึกษา การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- กิจกรรม "เรือน้อยบรรทุกของ"

เกมทายใจนักมวยมายากลระดับโลก


การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดคิดสร้างสรรค์
      
      ประโยชน์ของการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
            1. การเล่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
            2. การเล่นทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
            3. การเล่นทำให้เด็กสามารถปรับตัวให้กับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม

       แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเล่น
piaget แบ่งพัฒนาการการเล่นของเด็กออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
       
       ขั้นที่ 1 ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
                    - การสำรวจ จับต้องวัตถุ
                    - จะยุติลงเมื่อเด็กอายุ 2 ขวบ
      
       ขั้นที่ 2 ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constuctive Play)
                   - ช่วงอายุ 1 ขวบครึ่ง - 2 ปี
                   - เล่นโดยไมมีขอบเขตจำกัด
                   - เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึกถึงความเป็นจริง

        ขั้นที่ 3 ขั้นการเล่นที่ใช้สัญญาลักษณ์ (Symbolic Play)
                    - อายุ 2 ปีขึ้นไป
                    - สามารถพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 3 - 4 ปี
                    - เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำ และสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ  ที่ไม่มีอยู่ในบริเวณนั้น
                    - เป็นพัฒนาการสูงสุดของการเล่น คือ การเล่นบทบาทสมมติ

      ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
             การเล่นกลางแจ้ง
             การเล่นในร่ม

       การเล่นในร่ม
การเล่นตามมุมประสบการณ์ 
การเล่นสร้างสรรค์
      - การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และสามารถเล่นได้หลายวิธี
      - ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
      - เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

      องค์ประกอบของการเล่นสร้างสรรค์

1. สภาวะการเรียนรู้
- เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็ก โดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
- การเรียนรู้คุณลักษณะ และความเหมือน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับการรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
- การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
- การเรียนรู้เหตุและผล

2. พัฒนาการของการรู้คิด จัดกิจกรรมให้เหมาะกับพัฒนาการของเด็ก

3. กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการสอน
        กระบวนการเรียนรู้
        กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
- เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
- การจำแยกอย่างมีเหตุผล

หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างสรรค์
        - ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
        - ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรให้เหมาะสม
        - มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
        - มีการสรุปท้ายบท



skills.
   
    skillsด้านความคิด การแสดงความคิดอย่างอิสระ กล้าคิด และคิดเป็น

           กิจกรรม "นักออกแบบอาคาร"

ให้นักศึกษาช่วยกันต่อไม้จิ้มฟันกับดินน้ำมันให้ได้สูงที่สุด ในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งทำ 3 ครั้ง ประกอบด้วย
      ครั้งที่ 1 ห้ามให้พูดคุย ปรึกษากันระว่างทำกิจกรรม
      ครั้งที่ 2 ตกลงเลือกหัวหน้ากลุ่ม 1 คนซึ่งจะเป็นผู้ออกคำสั่งให้เพื่อนทำตาม
      ครั้งที่ 3 สามารถพูดคุย ปรึกษากันได้ภายในกลุ่มระหว่างทำกิจกรรม
บันทึกผลแต่ละครั้ง โดยครูเป็นผู้วัดและตรวจสอบ

วิธีการ แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แจกอุปกรณ์

อุปกรณ์ 
        1. ดินน้ำมัน
        2. ไม้จิ้มฟัน


ผลการทำกิจกรรม
ครั้งที่ 1 สูง 72.5 ซม.
ครั้งที่ 2 สูง 78 ซม. 
ครั้งที่ 3 สูง 82 ซม.
     
       จะเห็นได้ว่าการที่สามารถพูดคุย ปรึกษาวางแผนกันระหว่างทำกิจกรรม ผลงานที่ได้จะดีกว่าการมีหัวหน้ากลุ่มคอยสั่ง และการห้ามพูดคุยระหว่างทำกิจกรรม

             กิจกรรม "เรือน้อยบรรทุกของ"



ให้นักศึกษาออกแบบและประดิษฐ์เรือจากอุปกรณ์ที่มี ให้สามารถบรรทุกไข่พลาสติกได้หมดโดยที่เรือไม่จม

อุปกรณ์ 
        1. กระดาษ
        2. ไม้เสียบลูกชิ้น
        3. ยาง



Apply.

เทคนิคการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

ขั้นนำ
   1. เก็บเด็ก ด้วยเพลงที่เกี่ยวกับสาระที่จะสอน 
   2. ใช้คำถาม ถามความรู้เดิมถึงสิ่งที่จะสอน
ขั้นสอน
    1. แนะนำอุปกรณ์ 
        - ใช้คำถามมากๆ 
        - เมื่อเด็กตอบ ครูควรทวนคำตอบเพื่อกระตุ้นความสนใจ
    2. สาธิต ครูทำเป็นตัวอย่างให้ดูก่อน



Assessment.

classroom conditions. อากาศถ่ายเท เย็นสบาย 

self. เข้าห้องเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง และมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจาร์ยสอน

friend. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

professor. อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น