วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Save time 11 Monday Date 23 November 2015



Diary notes.



knowledge.


ภาพยนต์สั้น เรื่อง ด. เด็ก ช. ช้าง
โดย 
ทรงยศ สุขมากอนันต์ 
ผลงานหนังสั้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รัตน์ เปลตันยี จากมูลนิธิหนังไทย ประจำปี 2545


          จากการดู VDO เรื่องสั้นดังกล่าวผู้เป็นครูไม่ควรให้คะแนน หรือตัดสินเด็กเพียงเพราะประสบการณ์ เพราะพฤติกรรมดังกล่าวจะเป็นการสะกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ และสร้างเจตคติที่ไม่ดีต่อการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต


VDO การสังเกตการสอน


การสรุปผลการสังเกตการสอนของรุ่นพี่ปี 4 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์


ท่าการกระตุ้นและบริหารสมอง

1. นวดไหปลาร้า


ใช้ มือขวาวางบริเวณที่ใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้าจะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนังใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุ่มตื้นๆ 2 ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ 1 นิ้วหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ะละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 30 วินาที และให้เอามือซ้ายวางไปที่ตำแหน่งสะดือ ในขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายและจากพื้นขึ้นเพดาน

ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
- ช่วยสร้างให้ระบบการสือสารระหว่างสมอง 2 ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น


2. ปุ่มขมับ


1. ใช้นิ้วทั้งสองข้างนวดขมับเบาๆวนเป็นวงกลม ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที
2. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน

ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
- ทำให้การทำงานของสมองทั้ง 2 ซึก ทำงานสมดุลกัน



3. ปุ่มใบหู

1. ให้นิ่วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง 2 ข้าง
2. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง 2 ข้างพร้อมๆกันให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบา ๆ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น

ประโยชน์ของการนวดใบหู
- เพื่อกระตุ้นเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
- สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น

4. นับ 1 - 10



ประโยชน์ของการบริหารท่านับ 1-10
- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
- เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
- เพื่อกระตุ้นความจำ





5. จีบ L

1. ยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ส่วนนิ้วอื่นๆให้เหยียดออกไป
2. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
3. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้างทำเช่นเดียวกับข้อที่ 1 ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวเเอล (L)เช่นเดียวกับข้อ 2
4. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
                                  - เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุลย์ให้มีการเคลื่อนไหวอย่าง คล่องแคล่ว
                                  - เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

6. โป้ง-ก้อย

1. ยกมือทั้งสองข้างให้มือขวาทำท่าโป้งโดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
2. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
3. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบโป้ง-ก้อย
- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด


7. แตะจมูก-แตะหู

1. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)

ประโยชน์ของการบริหารท่า แตะจมูก-แตะหู
- ช่วยให้มองเห็นภาพด้านซ้ายและขวาดีขึ้น




8. แตะหู

1. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวาส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย

ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย,แตะจมูก-แตะหู,แตะหู
- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด



9. ทุบ / ถู


นำมือทั้งสองวางบนโต๊ะ ใช้มือซ้ายลูบโต๊ะขึ้นลง ส่วนมือขวาทุบโต๊ะอยู่กับที่ ถ้าคล่องแล้วสามารถเปลี่ยนมืออีกข้างได้






10. สัมผัสปลายนิ้ว

ยื่นใช้มือ ทั้ง 2 ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบา ๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ 5-10 นาที

ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
- ทำให้เกิดสมาธิเป็นการเจริญสติ


skills.
   
    skillsด้านความคิด การแสดงความคิดอย่างอิสระ กล้าคิด และคิดเป็น



Assessment.

classroom conditions. อากาศถ่ายเท เย็นสบาย 

self. เข้าห้องเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง และมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจาร์ยสอน

friend. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

professor. อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

แหล่งอ้างอิง
http://gsbgen.com/club/youth/intrend/20370/
Read more:http://www.novabizz.com/NovaAce/Physical/brainactivation.htm#ixzz3u4wqvSFA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น